Plug These Existing Policy Inefficiencies and Contradictions Before Mainstreaming Climate Change Adaptation Into Agriculture

Sivapuram Venkata Rama Krishna Prabhakar Principal Policy Researcher, IGES, Hayama, Japan Climate Change Vulnerability and Adaptation Specialist for TA-9993 As more countries are trying to strengthen their agriculture sectors to address climate change concerns, they must not take their sight off strengthening the traditional agricultural policies that are necessary to achieve the overall sustainability of…

ListenField’s AI Technology: Empowering Smallholders in the Agricultural Sector

Global shocks – challenges to smallholder livelihood Unprecedented global shocks and climate vulnerability have accelerated the need to transform the agricultural sector towards a safe, quality, traceable, and sustainable production system. Many smallholder farmers, especially those in remote areas, are ill-equipped to face these challenges. Not surprisingly, they are also extremely concerned about the daunting…

An analysis of scope and framework of technical assistance on “Climate Change Adaptation in Agriculture for Enhanced Recovery and Sustainability of Highlands”

การวิเคราะห์กรอบแนวทางการดำเนินโครงการ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตร เพื่อเพิ่มการฟื้นตัวและความยั่งยืนในพื้นที่สูง นายสุวิศิษฐ์ แสงเอื้ออังกูร กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ในปัจจุบันเป็นประเด็นที่เป็นความท้าทายของโลก เนื่องจากการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ในหลากหลายมิติ โดยระดับความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีความแตกต่างกันไปทั้งในแง่ของเวลา สถานที่ ระดับความรุนแรงและความถี่ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพ วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงขีดความสามารถในการปรับตัวของระบบนิเวศหรือสังคมแต่ละพื้นที่และแต่ละประเทศ ซึ่งอาจได้ประโยชน์หรือได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าเกือบทุกสาขาการผลิตของระบบเศรษฐกิจ จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคการเกษตรและอาหาร เช่นในภูมิภาคที่อยู่ในพื้นที่ละติจูดต่ำ (ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา) หากอุณหภูมิสูงเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส   จะส่งผลทำให้ผลผลิตของธัญพืชสำคัญลดลงร้อยละ 5 – 10[1] อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และปัจจัยทางภูมิอากาศอื่น ๆ จะส่งผลกระทบตอปริมาณผลผลิตของภาคการเกษตรโดยตรง การเจริญเติบโตของภาคเกษตรไม่เพียงแต่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหากแต่ยังสัมพันธ์กับระบบกลไกตลาด กระบวนการทางธรรมชาติในระบบนิเวศ (Biophysical process) และความสัมพันธ์เกี่ยวของกันของพื้นที่ราบกับพื้นที่ชันตนน้ำ นอกจากนี้ การปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการกําหนดการเจริญเติบโตของภาคเกษตร จึงนับได้ว่าภาคการเกษตรเป็นภาคที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกที่มีความอ่อนไหวและมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จังหวัดน่านกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ตำบลบัวใหญ่…